Thaimicrotron.com : Home
 
การออกแบบและการใช้งาน 7SEG แรงดันต่ำ (5V)
 
 
 
     
     
 
 
 
 
แบบ Common Anode
แบบ Common Cathode
 
     
  การหาความต้านทาน RL ที่อนุกรมกับ LED  
   
     
 
- LED (ปกติ) จะทำงานที่แรงดัน 1.8V โดยจะใช้กระแสประมาณ 10ma (ส่วนพวก super bright จะขึ้นอยู่กับข้อมูลผู้ผลิต) ดั้งนั้นที่ระดับแรงดัน 5 V แรงดันที่ตกคร่อม RL = 5-1.8 =3.2V  
  RL=V/I = 3.2V/10e-3 = 320 โอมห์ เนื่องจากเวลาใช้งานเราใช้วิธีแสกน ค่าที่ใช้จะมีค่าต่ำกว่าการคำนวนเล็กน้อยคือมีค่า 200 โอมห์(จากการทดลอง)  
  ซึ่งขาที่ต่อกับความต้านทานทั้ง 8 ตัว สามารถต่อได้โดยตรงกับไมโครฯ ได้เลย  
     
     
 
     
  ส่วนขา Common ในแต่ละหลักจะมีกระแสไหล 8x10ma = 80ma ซึ่งจะต้องใช้ ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่สวิทช์ อีกทีหนึ่ง  
   
  - โดยปกติแล้วเรามักจะใช้ทรานซิสเตอร์ BC547 สำหรับ NPN และBC557 สำหรับ PNP ทั้งคู่ทนแรงดันได้ 45V/150ma  
  - โหลดที่ต่อกับทรานซิสเตอร์ให้ต่อที่ขา C (หากต่อที่ขา E เมื่อทรานซิสเตอร์ทำงาน แรงดันที่ตกคร่อมโหลด จะป้อนกับแบบ negative ไปยังขา E ทำให้กระแสลดลง มีผลให้ LED สว่างไม่เต็มที่)  
     
  การคำนวนหา RB  
  อัตราขยายกระแส = Ic/Ib  
  โดยทั่วไปทรานซิสเตอร์ขนาดนี้จะมีอัตราขยายกระแส = 150 เท่า  
  Ib = 80ma/150 = 0.53ma  
  RB = 5V/0.53e-3 = 9.433e3 ~ 9.4K  
  ในทางปฏิบัติ เราจึงใช้ RB=10K  
     
  เราจะใช้แบบไหนดีระหว่าง Common Anode กับ Common Cathode  
  -หากใช้ 7SEG 2-3หลักผลก็ไม่ต่างกัน  
     
 
 
 
การใช้งาน 7Segment กับ 74lS145 (4 to 10 decoder)
 
     
  - หากใช้ IC decoder เข้ามาช่วยก็จะทำสะดวกขึ้นทำให้ไม่ต้องต่อทรานซิสเตอร์หลายๆตัว ซึ่งเอาต์พุตของ IC decoder เหล่านั้นมักจะเป็นทรานซิสเตอร์แบบ OC (ทำให้ต่อกับโหลด ที่มีแรงดันสูงกว่า 5V ได้ และสามารถขับโหลดได้สูงถึง 150ma ต่อช่อง)  
  - หากเป็นกรณีนี้ก็ต้องใช้กับ Common Cathode เท่านั้น  
     
  การใช้งานร่วมกับชิพรีจิสเตอร์ 74HC595 และ IC decoder 74LS145  
   
     
     
  การออกแบบและการใช้งาน 7SEG แรงดันสูง  
 
SMITDH EMSOMBATศมิทธิ์ เอมสมบัต