Thaimicrotron.com : Home

วิธีการทำ PCB โดยใช้ Dry film

     
  - วิธีการทำ PCB โดยใช้ dry film เป็นวิธีการที่รวดเร็ว และสามารถทำ PCB ที่มีเส้นขนาดเล็กๆ ได้  
  - Dry film เป็นฟิล์มที่ไว้ต่อแสง UV ครับ สามารถทำงาน ที่มีแสงไฟ ในห้องปกติได้ แต่เป็นไฟเพดานนะครับ ไม่ใช่โคมไฟบนโต๊ะ แต่ก็ไม่ควรทิ้งไว้นานๆ ครับจะทำให้ฟิล์มเสียได้  
     
 
     
 
ตัด PCB ตามขนาดที่ต้องการ ตัดขนาดของ dry film  
นำมาขัดด้วย ใยขัด ให้สะอาด ให้ใหญ่กว่า PCB เล็กน้อย  
แล้วนำไปล้างด้วยนำยาล้างจาน    
แล้วเช็ดให้แห้ง    
 
     
  ทำตัวช่วยจับเพื่อลอกแผ่นพลาสติก  
 
     
นำเทปกาว 2 หน้า มาปิดบนเศษ PCB ลอกกระดาษออกแล้ว พับไปอีกด้าน นำ dry film มาติดที่มุมดังรูป
    แล้วใช้ปลายคัดเตอร์ สะกิด ที่มุม
    เพื่อลอกแผ่นพลาสติกออก
 
     
 
     
 
นำ dry film มาปิดไว้บน PCB ปรับไฟแค่พอร้อนนิดๆ  
แล้วนำไปรีด ด้วยเตารีด นำผ้าดิบมาวางทับอีกทีหนึง  
  แล้วนำเตารีด มารีด  
  ออกแรงกดเล็กน้อย แล้วรีดไปมาให้ทั่ว  
 
     
  - เวลาปิด dry film ระวังเรื่องความสะอาดด้วยครับอย่าให้มีเศษฝุ่น หรือฟองอากาศ หากมีฟองอากาศ มากเกินไป ก็ให้ลอกแล้วปิดใหม่ ถ้ามีน้อย ก็พอไว้ครับ ใช้เข็มเจาะเอา แล้วรีดให้เรียบอีกครั้ง  
     
 
     
ตัดด้านข้างด้านยาว ออกทั้ง 2 ด้าน แล้วพลิกแผ่น PCB ไปอีกด้าน พับด้านข้างทั้งสองด้าน ดังรูป เตรียมฟิมล์ แบบ negative
  *** เพื่อไว้สำหรับลอกแผ่นพลาสติกออก จะได้ง่าย *** ตรวจสอบให้ดี ระวังผิดด้านนะครับ
  (สำหรับผู้ที่มีความชำนาญแล้ว ให้ตัดเสมอแผ่นปริ้น เลยก็ได้)  
  แล้วนำไปรีด ทับด้านหลังนี้อีกครั้ง เพื่อให้ส่วนที่พับนี้ติดกับแผ่น PCB  
     
 
     
  - อุปกรณ์สำหรับฉายแสง  
  หลอดไฟที่ใช้ฉายแสงเป็นหลอดไฟประเภทใดก็ได้ แต่ควรเป็นหลอดที่มีแสง UV ครับ (เพราะจะใช้เวลาเร็วกว่ากันเยอะ) เช่น
- หลอดไฟสำหรับดักยุง
- หลอดไฟ black light
- หรือหลอดไฟแบบไส้ที่มีความเข็มสูงเช่นหลอด spot light แต่ต้องใช้ขนาด100 W ครับถึงจะพอ เวลาฉายให้ห่างประมาณ 1 ฟุต ใช้เวลาฉายแสง ประมาณ 20 นาที
- หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออนบ้านเราก็ใช้ได้ แต่ใช้เวลามากหน่อย ประมาณ 30-45 นาที
- นำไปตากแสงแดดก็ได้ จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีขึ้นไป แต่การควบคุมแสงจะทำได้ยาก
 
     
 
   
หลอดไฟสำหรับดักยุงขนาด 10W (ราคา 75 บาท)    
     
   
รางใส่หลอดฟูออเรสเซนส์ขนาด 10 w    
     
   
- นำฟิมล์วางทับบนแผ่น PCB    
- แล้วนำกระจกใส มาวางทับอีกทีหนึ่งเพื่อให้เรียบ    
- วางหลอดไฟให้ห่างประมาณ 20 cm    
- ระยะเวลาในการฉายแสง 2 นาที    
     
 
     
   
  หลังจากนั้นนำแผ่น PCB มาลอกเอาพลาสติกอีกด้านออก แล้วนำไปล้างน้ำยา  
     
  - อุปกรณ์สำหรับล้าง Dry film  
     
   
  - น้ำยา Developer (โซเดียมคาร์บอเนต ) ผสมในอัตราส่วน 5 gm ต่อน้ำ 500 cc (หรือ10 gm ต่อน้ำ1 ลิตร)  
  - ถาดใส่น้ำยา  
  - ฟองน้ำนุ่มๆ ชิ้นเล็กๆ  
  - แปรงขนอ่อน  
     
 
     
แช่แผ่น PCB ไวประมาณ 20 วินาที นำแปรงขนอ่อน ถูให้ทั่วๆ พอเห็นลายชัดขึ้นบางแล้ว
เพื่อให้ฟิมล์เริ่มอ่อนตัว เพื่อให้ส่วนที่ไม่ต้องการหลุดเร็วขึ้น ใช้ฟองน้ำนุ่มๆ ถูส่วนที่ไม่ต้องการออกจนหมด
    เวลาถูให้ ถูไปตามลายปริ้นอย่าถู ขวางลาย เพราะ จะทำให้เส้น
    ที่ไม่สมบูรณ์ หลุด (แสดงว่าตอนรีด ร้อนไม่พอ)
     
 
     
  เก็บน้ำยา Developer ที่ใช้แล้ว สามารถนำมาใช้ได้อีก จนกว่าจะเป็นเมือกๆ มาก หรือแช่แล้วกัดไม่ ออก ค่อยทิ้ง โดยเก็บไว้ในขวดที่มีฝาปิดสนิท
เพราะ ส่วนใหญ่จะใช้ Developer หมดก่อน Dryfilm ซะอีก
 
     
  นำไปกัดกรด  
 
     
 
 
 
 
 
 
นำไปกัดกรด ตรวจสอบดูว่าตรงไหนกรดไม่กัด เมื่อกรดกัดแผ่นทองแดงส่วนที่ไม่ต้องการ
  สังเกตุจากสีจะอ่อนกว่า หมดแล้ว นำไปล้างน้ำแล้ว ขัดด้วยใยขัด
  นำพูกัน ขนอ่อน ถูบริเวณที่กรดไม่กัดให้ทั่ว จนสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
     
 
     
     
   PCB ที่กัดกรดเสร็จแล้ว จะเห็นว่าได้งานที่เรียบร้อย กัด track เส้นเล็กๆ ได้  
  - หากส่วนที่เส้นใกล้ๆกันยังติดกันอยู่ให้ใช้เหล็กปลายแหลมขูดออก  
  - ส่วนที่ขาดหรือเป็นรูพรุ่นๆ ให้นำปากาเขียนแผ่นใส เติมส่วนที่ขาด  
     
  ล้าง dryfilm ออกด้วย วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้  
  - ขัดด้วยใยขัด โดยชุปน้ำยาล้างจานเล็กน้อย โดยขณะที่ขัด ปล่อยให้น้ำก็อก ไหลผ่านเล็กน้อย เพื่อให้ส่วนที่หลุด ไหลตามน้ำไป  
  - ใช้ทินเนอร์เช็ดออก แล้วล้างด้วย น้ำยาล้างจาน อีกที  
  - ล้างด้วย โซดาไฟ โดยผสม 10 gm ต่อน้ำ 1 ลิตร  
     
  ขั้นตอนสุดท้าย เคลือบด้วย Clear Lacquer เพื่อป้องกันทองแดงหมอง  
     
  Note:  
  - การฉายแสงระยะยิ่งใกล้ ยิ่งใช้เวลาเร็วขึ้น หากใช้ negative film ที่เป็น film จริงๆ อย่างที่มืออาชีพเค้าใช้ จะดำสนิท สามารถฉายแสงได้นานหน่อย ทำให้ เส้นลายปริ้น คมชัดไม่ค่อยหลุด และส่วนที่ไม่โดนแสง จะล้างออกง่าย
- โดยมากเราพวกมือสมัครเล่น จะทำฟิมล์ แบบ negative โดยใช้ Laser Printer หรือ Inkjet โดยปริ้นบนกระดาษไขเขียนแบบ ทำให้ส่วนที่เป็นสีดำ ไม่ทึบพอ (ลองส่องกับแสงดู) จึงไม่ สามารถฉายแสงได้ นานนัก เพราะจะทำให้ ล้างออกยาก
 
     
     
 
     
  SMITDH EMSOMBAT ศมิทธิ์ เอมสมบัติ